สถานที่ติดต่อ :
วิทยาลัยเทคนิคกระบี่ อาคารช่างกล ชั้น 3 ถนนท่าเรือ ต.ไสไทย อ.เมืองกระบี่ จ.กระบี่ 81000
ช่องทางการติดต่อ :
มือถือ : 088 787 0545
Line : ไอทีครีเอท
นโยบายที่กำหนดขึ้นในสังคมหรือองค์การใด ๆ นั้น ก็เพื่อเป็นแนวคิดในการดำเนินงานเพื่อสนองความต้องการหรือความประสงค์ของบุคคล ในองค์การนั้น และ ลักษณะของนโยบายก็จะสอดคล้องกับความเชื่อและลัทธิการปกครองขององค์การนั้น องค์การที่มีระบอบการปกครองของประชาธิปไตยนโยบายที่กำหนดขึ้นมักจะได้ข้อมูลและมีการกลั่นกรองข้อมูลจากบุคคลหลายฝ่าย และลัทธิการปกครองแบบอัตตาธิปไตยนโยบายท่กำหนดมักจะทำขึ้นเพื่อสนองความต้องการของบุคคลบางกลุ่มเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือกลุ่มชนชั้นปกครอง และข้อมูลของนโยบายมักจะได้จากเหตุผลของคนกลุ่มเดียว อย่างไรก็ตามไม่ว่าสังคมหรือองค์การจะมีลักษณะการปกครองหรือรูปแบบในการบริหารเป็นเช่นไร การกำหนดนโยบายย่อมต้องมีขั้นตอนและเป็นกระบวนการ อันนำมาซึ่งนโยบาย กุศโลบายในการดำเนินงานที่ถูกต้อง มีประสิทธิภาพเป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์ของการบริหารและนโยบายท่กำหนดขึ้นจะต้องเป็นที่รับทราบและยอมรับจากบุคคล ฝ่าย ภายในหน่วยงานต้องได้รับการผสมผสานเข้าด้วยกันให้เป็นแนวทางกว้าง ๆ เพื่อการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน ที่เราเรียกว่านโยบายในการบริหารงาน
นโยบาย(Policy) และกุศโลบาย(Strategy) เป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันมากเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงความตั้งใจของผู้บริหารว่าควรจะทำ หรือไม่ควรทำกิจกรรมหนึ่งกิจกรรมใด ในอนาคต หรือ ในสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนั้น และเป็นแนวคิดอันจะนำไปสู่การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพโดยเป็นที่ยอมรับกันว่าหน้าที่อันสำคัญประการแรกของผู้บริหาร คือการกำหนดนโยบายหรือกุศโลบายในการบริหารงาน ซึ่งนโยบายและกุศโลบายจะเป็นตัวที่ให้ทิศทางและข้อมูลในการวางแผน กล่าวคือ
ก.นโยบายและกุศโลบาย ยิ่งได้รับการพัฒนา หรือจัดทำโดยความละเอียดรอบคอบและเป็นที่เข้าใจโดยชัดเจนมากเพียงใด ย่อมทำให้การวางแผนเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากเพียงนั้น
ข.นโยบายและกุศโลบาย เป็นยุทธการ (Tactics) อันสำคัญในการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด
ค.นโยบายและกุศโลบายมีผลอันสำคัญต่อการบริหารงานทุกชนิดและทุกลักษณะงาน
การศึกษาในประเทศไทย เป็นการศึกษาที่จัดโดยกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทย โดยภาครัฐจะเข้ามาดูแลโดยตรงและเปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วมในการศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา สำหรับการศึกษาภาคบังคับในประเทศไทยนั้นได้กำหนดให้พลเมืองไทยต้องจบการศึกษาอย่างน้อยที่สุดในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น[4] และต้องเข้ารับการศึกษาอย่างช้าสุดเมื่ออายุ 7 ปี[5] ซึ่งการศึกษาภาคบังคับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ซึ่งแบ่งออกเป็นระดับชั้นประถมศึกษา 6 ปีและมัธยมศึกษา 6 ปี นอกจากนี้แล้วการศึกษาขั้นพื้นฐานยังรวมถึงการศึกษาปฐมวัยอีกด้วย[6] ทั้งนี้รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550[7] ส่วนการบริหารและการควบคุมการศึกษาในระดับอุดมศึกษาจะดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ซึ่งเป็นแผนกหนึ่งของกระทรวงศึกษาธิการ ในปัจจุบันการศึกษาในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
อย่างไรก็ตามการจัดการศึกษาของประเทศไทยนั้นถูกมองว่าล้าหลังและล้มเหลวเสมอมา[8] กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 ว่า เด็กไทยมีระดับเชาวน์ปัญญา 98.59 ซึ่งต่ำกว่าค่ามัธยฐานของเชาวน์ปัญญาทั้งโลกที่ระดับ 100 โดยเด็กไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสติปัญญาน้อยที่สุด สูงขึ้นมาจึงเป็นภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคกลางตามลำดับ
สำหรับระบบการศึกษาในโรงเรียนของประเทศไทยนั้นจะแบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ช่วงชั้น คือ ช่วงชั้นที่ 1 ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 ช่วงชั้นที่ 2 ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ช่วงชั้นที่ 3 คือระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (มัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3) และช่วงชั้นที่ 4 คือระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (มัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6)[10] โดยในช่วงชั้นที่ 4 นั้นนอกจากจะมีการจัดการศึกษาในสายสามัญแล้ว ยังมีการจัดการศึกษาในสายอาชีพด้วย ซึ่งในระดับชั้น ปวช. 1 - 3 นั้นจะเทียบเท่ากับระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยนักเรียนที่เลือกสายสามัญมักมีความตั้งใจที่จะศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ส่วนนักศึกษาที่เลือกสายอาชีพมักวางแผนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การจ้างงานและศึกษาเพิ่มเติม[11]
ในการเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย รวมไปถึงอาชีวศึกษาจำเป็นต้องมีการสอบข้อเขียนซึ่งจัดสอบโดยโรงเรียน ส่งผลให้ในบางครั้งอาจมีปัญหานักเรียนไม่มีที่เรียนได้[12] นอกจากนักเรียนจะต้องสอบข้อเขียนของโรงเรียนแล้ว นักเรียนจำเป็นต้องมีคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (ONET) ซึ่งมีการจัดสอบในช่วงปลายภาคเรียนที่ 2 ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และปลายภาคเรียนที่ 2 ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3[13] ยื่นประกอบในการพิจารณา ส่วนการทดสอบระดับชาติของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปที่ 6 จะนำไปใช้ในการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย[14]
สำหรับประเทศไทยนั้นมีการแบ่งโรงเรียนออกเป็น 2 รูปแบบ คือ โรงเรียนรัฐและโรงเรียนเอกชน[15] โดยโรงเรียนรัฐนั้นจะบริหารจัดการโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือหน่วยงานอื่นๆที่ไม่ได้สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น ส่วนโรงเรียนเอกชนจะบริหารจัดการโดยกลุ่มบุคคลหรือมูลนิธิต่างๆที่มีใบอนุญาตจัดตั้ง[16] ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักเป็นโรงเรียนที่มีส่วนเกี่ยวเนื่องกับศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม เป็นหลัก ในเขตชนบทของประเทศไทยนั้นหลายๆโรงเรียนมีลักษณะเป็นโรงเรียนขยายโอกาส คือ มีการจัดการเรียนการสอนระดับชั้นประถมศึกษา - มัธยมศึกษาตอนต้น หรืออาจมีการจัดการเรียนการสอนในระดับการศึกษาปฐมวัยด้วยก็ได้[17]
เนื่องจากการขาดแคลนงบประมาณทางการศึกษาแก่โรงเรียนชนบท ส่งผลให้นักเรียนที่อาศัยอยู่ในเขตชนบทเลือกที่จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนเอกชนมากกว่าโรงเรียนของรัฐ เนื่องจากมีความเชื่อมั่นว่าคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนเอกชนอยู่ในระดับมาตรฐานที่ดี[18] หรือเข้าศึกษาต่อในเขตเมืองของจังหวัดนั้น ๆ
แหล่งข้อมูล : https://th.wikipedia.org/
มี 101 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์